วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศทั้ง 2 ธุรกิจ

          เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเปิดมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จึงทำให้ประเทศมีลักษณะเสรีและเป็นประเทศทุนนิยม มีการลงทุนของนักธุรกิจต่างชาติเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้การประกอบอาชีพของประชาชนแต่ก่อนในประเทศทำการเกษตร แต่ในระยะหลังๆ การทำงานในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและบริการเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีนายทุนชาวต่างชาติมาลงทุนในไทยมากขึ้น

ฟูจิ เล็งขายแฟรนไชส์ลุยตปท.ทุ่ม 400 ล.ผุดบูติกโฮเต็ลขยายฐาน
   ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ
1.                  ทางเครือร้านอาหารฟูจิ ควรมีการศึกษาความได้เปรียบในการแข่งขันว่า เครือร้านอาหารฟูจินั้นมีความถนัดหรือความเก่งในด้านใด เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าเหมาะสมไหมกับการที่จะขยายธุรกิจร้านอาหารฟูจิไปสู่ธุรกิจโรงแรม 
2.                  ควรมีการศึกษาข้อมูลของประเทศไทยให้เข้าใจและรู้จริงว่า ประชากรในประเทศมีลักษณะการดำเนินชีวิต วัฒนธรรม การศึกษา สังคม ศาสนา ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม เเละรายได้ เป็นอย่างไร 
3.                  ควรคำนึงถึงแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจว่า ในประเทศไทยบริเวณหาดเชวง เกาะสมุย นั้นสามารถขนส่งสินค้าและการจัดซื้อวัตถุดิบได้สะดวกหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ช่วยลดต้นทุนในการขนส่งวัตถุดิบ 
4.                  คณะกรรมการผู้จัดการควรที่จะนำความรู้เดิมจากการบริหารโรงแรม ฮิบิยาซิตี้โฮเต็ล ในประเทศญี่ปุ่นนั้นมาต่อยอดหรือประยุกต์ใช้กับประเทศไทย และมีการปรับปรุงแผนหรือกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้ดีขึ้นเลื่อยๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามารับบริการ และเกิดความพึงพอใจมากที่สุด

เอ็มเค ฉลองครบ 300 สาขา ย้ำความสำเร็จนวัตกรรมบริการ
   ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ
1.                  ควรมีการศึกษาข้อมูลของประเทศที่ต้องการไปลงทุนว่า ประชากรในประเทศนั้นมีลักษณะวัฒนธรรม การศึกษา สังคม ศาสนา ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม เเละรายได้ เป็นอย่างไร โดยเฉพาะเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคของประชากรในประเทศที่จะไปลงทุน 
2.                  ควรมีการศึกษาความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงของประเทศที่ไปลงทุนว่า ต้องการได้รับสินค้าหรือบริการแบบใดที่ลูกค้าต้องการ และทำให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด 
3.                  MK ควรที่จะมาลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศในเเถบเอเชีย เนื่องจาก MK มีจุดขายที่เป็นร้านอาหารสำหรับครอบครัวและกลุ่มเพื่อน ดังนั้นจึงเหมาะกับวัฒนธรรมของชาวเอเชียมากกว่ายุโรป 
4.                  ควรหากลยุทธ์ที่สามารถสร้างความเหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ เช่น การนำกลยุทธ์บริหารที่เน้นนวัตกรรมการให้บริการครบวงจรที่ MK ใช้อยู่ในขณะนี้ เพื่อให้บริการที่ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด ซึ่งคือการบริหารจัดการด้วยแนวคิด QCQS ได้แก่ ความรวดเร็วในการให้บริการ (Q = Quickness),ความสะอาดของอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร (C = Cleanliness), คุณภาพของอาหารที่มีการตรวจสอบมาตรฐานอย่างเข้มงวด (Q = Quality), และการให้บริการที่เป็นเลิศ (S = Service)” เป็นต้น และเป็นการสร้างความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งของธุรกิจ 
5.                  ควรคำนึงถึงการนำวัตถุดิบของประเทศที่ลงทุนมาพัฒนาหรือดัดแปลงให้เข้ากับเมนูอาหารที่มีอยู่ เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้า เเละวัตถุดิบจากประเทศเเม่ (ประเทศไทย)

เขียนโดย CHANUTAPORN JONGPHAISAN ที่ 6:37 

เสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศให้กับ 2 ธุรกิจ

กลยุทธ์ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ (ฟูจิกับเอ็มเค) คือ

1. กลยุทธ์การสร้างตลาดหรือแย่งชิงส่วนตลาด (Build the market or steal market share) การสร้างตลาด (Build market) เหมาะกับสถานการณ์สำหรับประเภทสินค้าใหม่ ขณะที่งานตลาดในปัจจุบันยังมีขนาดเล็ก และศักยภาพของผู้ซื้อยังมีสูง ขณะที่คู่แข่งขันยังไม่มาก บริษัทที่ลงสู่ตลาดนี้ และใช้วิธีการสร้างตลาดขึ้นมา
 2. กลยุทธ์ฤดูการขาย (Seasonality Strategies) กิจการต้องตัดสินใจการใช้งบประมาณการตลาดและโฆษณาให้สอดคล้องกับช่วงการขาย ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงของปีด้วย
3. กลยุทธ์คู่แข่งขัน (Competitive Strategies) เมื่อเราพิจารณาแล้วเห็นว่า คู่แข่งขันโดยตรงของเรามีผลต่อขนาดส่วนครองตลาดที่ลดลง หรือคู่แข่งก้าวมารุกล้ำตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Unique Positioning) ของเราแล้ว เราจำต้องพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขัน
4. กลยุทธ์เพื่อตลาดเป้าหมาย (Target Market Strategies) จากการที่มีการกำหนดตลาดเป้าหมายอย่างชัดเจน เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง เราต้องมีการพิจารณาว่าจะเข้าถึงหรือมุ่งเน้นตลาดเป้าหมายเหล่านี้ได้อย่างไร 
5. กลยุทธ์ราคา (Pricing Strategies) เราต้องกำหนดว่าจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูง หรือราคาที่สอดคล้องกับตลาดหรือคู่แข่งขัน
- ตั้งราคาสูงเพื่อสอดคล้องกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่สูง 
- ตั้งราคาต่ำสำหรับช่วงฤดูกาลที่ยอดขายน้อย และตั้งราคาต่ำกว่าผู้นำเล็กน้อยในช่วงฤดูกาลที่ขายดี 
6. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategies) กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดจะต้องประสานกับแผนการตลาดโดยรวม และกำหนดแผนการส่งเสริมการตลาดที่เฉพาะเจาะจง 
- ใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าสนับสนุนตราสินค้าของเรา 
 - ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลสูงสุดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าของ เราในช่วงระยะเวลาที่ยอดขายต่ำของ
7. กลยุทธ์ตรายี่ห้อ (Branding Strategies) ธุรกิจจะต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับชื่อยี่ห้อ ตรายี่ห้อ เอกลักษณ์หรือตัวบ่งชี้แสดงตัวสินค้า 
8. กลยุทธ์ราคา (Pricing Strategies) เราต้องกำหนดว่าจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูง หรือราคาที่สอดคล้องกับตลาดหรือคู่แข่งขัน หรือตำแหน่งผลิตภัณฑ์ขอสินค้านั้นหรือไม่ 
- ตั้งราคาสูงเพื่อสอดคล้องกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่สูง 
- ตั้งราคาต่ำสำหรับช่วงฤดูกาลที่ยอดขายน้อย และตั้งราคาต่ำกว่าผู้นำเล็กน้อยในช่วงฤดูกาลที่ขายดี 
9. กลยุทธ์กระจายสินค้า และการครอบคลุมตลาด (Distribution of Product/ Coverage Strategies) การตัดสินใจมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับประเภทของสินค้าว่าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าองค์กร หรือสินค้าบริการ สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าองค์กรต้องพิจารณาว่า จะวางจำหน่ายที่จุดใดจึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยรูปแบบของร้านค้า หรือจุดจำหน่ายสินค้าอย่างไร ธุรกิจค้าปลีกและบริการมักจะตัดสินใจว่า วัตถุประสงค์การตลาดที่ตั้งไว้นั้นจะบรรลุโดยใช้ช่องทางการขายที่มีอยู่หรือไม่ จำเป็นต้องเพิ่มร้านค้าใหม่ๆ หรือช่องทางใหม่ๆ หรือไม่ 
10. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategiesกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดจะต้องประสานกับแผนการตลาดโดยรวม และกำหนดแผนการส่งเสริมการตลาดที่เฉพาะเจาะจง
 - ใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าสนับสนุนตราสินค้าของเรา 
- ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลสูงสุดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าของ เราในช่วงระยะเวลาที่ยอดขายต่ำของปี 
11. กลยุทธ์การใช้สื่อโฆษณา การเลือกสื่อโฆษณามีความสำคัญยิ่ง เพราะจะเป็นทิศทางในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดอื่นๆ เช่น กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์คู่แข่งขัน และกลยุทธ์การใช้จ่ายทางการตลาด 
- การใช้สื่อโฆษณาใหม่ๆ เพื่อสร้างความตระหนักในตรายี่ห้อ (Awareness) และสร้างให้เกิดการลองใช้สินค้า 
- ลงทุนมากขึ้นในสื่อโฆษณานี้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ และ สามารถเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้ 
12. กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ธุรกิจต่างๆ ล้วนแต่ต้องการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับยอดขายที่เพิ่มขึ้น การทำวิจัยและพัฒนาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความสำเร็จทางธุรกิจ แม้ว่าจะต้องใช้การวางแผน การทดสอบ และการดำเนินงาน ตลอดจนเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จะทำให้ธุรกิจเรายืนอยู่แถวหน้าในอุตสาหกรรมได้ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขัน ถ้าเรากำหนดว่าจะการวิจัยและพัฒนา เราต้องทราบว่าจะทำการวิจัยและทดสอบอะไรบ้าง เช่น สินค้าใหม่, บรรจุภัณฑ์ใหม่, หรือประชาสัมพันธ์ใหม่ของโปรแกรมการตลาดต่างๆ  
13. กลยุทธ์การหาข้อมูลทางการตลาด (Marketing Research Strategies) ธุรกิจใช้วิจัยตลาดเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เฉพาะทางการตลาดบางอย่าง ขณะเดียวกันมักจะช่วยเพิ่มยอดขายและบรรลุถึงวัตถุประสงค์อีกด้วย อีกทั้งใช้การวิจัยเพื่อการศึกษาและติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค และใช้ข้อมูลเพื่อเป็นฐานในการเปรียบเทียบการดำเนินงานของเรา เมื่อเทียบกับคู่แข่ง


วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนมไทยสู่ตลาดโลก

ขนมไทย
ปัจจุบัน ขนมไทย ก้าวไกลสู่ตลาดนานาประเทศทั่วโลกสามารถทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทยของเราอีกทางหนึ่ง เช่น ขนมไทย จาก บ้านขนมไทยนพวรรณ ของอาจารย์นพวรรณ จงสุขสันติกุล
เมื่อพูดถึงขนมไทย หลายคนอาจนึกถึงความหวานมันของกะทิ และความหวานของน้ำตาล ซึ่งมีผลต่อสุขภาพมากมาย แต่ถ้าพูดถึง ขนมไทยเพื่อสุขภาพ หลายคนอาจสงสัยว่า ความหวานกับความมัน จะดีต่อสุขภาพได้อย่างไร? แต่อาจารย์นพวรรณทำได้ โดยพัฒนา รูปแบบ และดัดแปลงความหวาน ด้วยการใช้ ความหวานจากผลไม้ ส่วน ความมันกะทิ ก็ลดปริมาณลงแล้วใส่ข้าวบาร์เลย์แทนหรือการนำ พืชผัก และสมุนไพร มาเป็นส่วนผสมด้วย เช่น ดอกอัญชันแทน สีน้ำเงิน ดอกคำฝอยแทน สีแดง ใบเตยแทน สีเขียว หรือ ใส่งาดำ เพิ่มคุณค่าอาหาร ทำให้เกิด ขนมไทย รูปแบบใหม่ ที่มีความอร่อยลงตัว และ ส่งผลดีต่อสุขภาพได้ด้วย บ้านขนมไทยนพวรรณ มีขนมให้เลือกมากมายกว่า ๑๐๐ ชนิด ด้วยการผลิตที่สดใหม่ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำชื่อเสียงให้กับบ้านขนมไทย เน้นการจัดตกแต่งและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทย ทำให้ขนมไทยนพวรรณ มีชื่อเสียงและขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศในรูปแบบแฟรนไชส์ ที่มีมาตรฐานและคุณภาพ ช่วยให้ท่านสามารถเลือกใช้ขนมไทยในโอกาสพิเศษ เช่น งานเลี้ยงต่างๆ หรือการประชุม หรือเป็นของขวัญของฝากผู้ใหญ่ ญาติสนิทมิตรสหายได้ทุกเทศกาล หรือจะทำเป็นธุรกิจ SME ส่วนตัว ก็สามารถทำได้
ขนมไทย OTOP มีแววรุ่งตลาดเอเชีย
ผลการวิจัยเรื่องการจัดการเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์อุตสาหกรรมขนมไทย OTOP เพื่อการส่งออกโดยนางเอื้อมพร เธียรหิรัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและฝ่ายต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ชี้ว่า จากการจัดอันดับของผู้ค้าผลิตภัณฑ์ขนมไทย OTOP ในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ พบว่า สินค้าของไทยถูกจัดว่าได้รับความนิยมอยู่ในอันดับที่ 3 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าว อาทิ ข้าวแต๋น และขนมทองม้วน สามารถทำรายได้รวมกับยอดขายในประเทศได้รวมกันปีละ 5-6 ล้านบาท ในปี 2549
ตัวอย่าง “ ขนมไทย ”
       ขนมไข่ในรัง                              ขนมเม็ดขนุน
           

          ขนมฝอยทอง                           ขนมทองเอกหรือจ่ามงกุฎ
     
                     ขนมทองหยิบ                                       ขนมชั้น
     
           
การวิเคราะห์ตลาด
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมและการวิเคราะห์ตลาด
สภาวะตลาด  
ตลาดขนมไทย จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นสำคัญก็คือกระแสความนิยม ขนมไทย - อาหารว่าง ที่ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ และความตื่นตัวที่รักษากิจการของตัวเอง
การวิเคราะห์สถานการณ์ : จุดแข็ง - จุดอ่อน (Swot Analysls)
สถานการณ์ภายใน
จุดแข็ง (Strength)
   1. มีความรู้ - ความสามารถเฉพาะตัวในการผลิตขนมไทย - อาหารว่างและริเริ่มสร้างสรรค์ของใหม่เรื่อยๆ
   2. ทีมงานเข้มแข็งร่วมกันรับผิดชอบ ไม่ให้เกิดความผิดพลาด
   3. มีฐานลูกค้าเก่าสมัย ที่เป็นคนไทยในประเทศจีนที่ชื่นชอบขนมไทย
   4. มีฐานลูกค้าใหม่ เช่น โรงแรมต่างๆในประเทศจีน
   5. ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ เพราะเป็นฝีมือของคนไทยโดยตรง
   6. การซื้อวัตถุดิบได้รับเครดิตจากร้านค้า
จุดอ่อน (Weakness)
   1. บางครั้งวัตถุดิบ เช่น ใบเตย ใบตอง เก็บไว้ได้ไม่นาน
   2. บรรจุภัณฑ์ ยังไม่ดีพอ
   3. ขนมไทย บางอย่างเก็บไว้ไม่ได้นาน
   4. การผลิตขนมสดใช้ฝีมือประณีต จึงรับลูกค้าได้จำนวนจำกัด


การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (External Situation)
โอกาส(Opportunost)
   1.มีการออกแบบแพ็คเก็จเหมาะสมกับวาระเทศกาลต่างๆ
   2.ในเทศกาลต่างๆ : วันปีใหม่ วันแห่งความรัก วันตรุษจีน และประเพณีปฏิบัติให้ส่วนลด
   3. มีรูปลักษณ์เฉพาะตัว โดยที่ลูกค้าไม่เกี่ยงราคา
   4. มีโอกาสหาลูกค้าตลาดบนได้สูง

อุปสรรค
   1.ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ
   2.เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ตอนนี้ไม่แน่นอน การใช้เงินต้องใช้เวลาตัดสินใจนาน
   3. กำลังการซื้อลดลง
   4. ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยในการบรรจุภัณฑ์
   5. สินค้าบางอย่างต้องผลิตด้วยมือ ทำให้การผลิตบางครั้งไม่เพียงพอ
   6. มีคู่แข็งในตลาดเพิ่มขึ้นตลอดเวลา



แหล่งที่อ้างอิง


วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

การตลาดระหว่างประเทศ International Marketing
แตกต่างกับ
การค้าระหว่างประเทศ   International Trdde ?
ประเทศจีน
 ประชากร ประมาณ 1,300 ล้านคน มีประชากรมาก เป็นอันดับหนึ่งของโลก 93% เป็นชาวฮั่น ส่วนที่เหลือ 7% เป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่ ชนเผ่าจ้วง หุย อุยกูร์ หยี ทิเบต แม้ว แมนจู มองโกล ไตหรือไท เกาซัน รัฐบาลจีนมีนโยบายเพื่อควบคุมจำนวนประชากรชาวฮั่น ซึ่งครอบครัวหนึ่ง ควรมีบุตรเพียงหนึ่งคนเท่านั้น นโยบายนี้ไม่ได้บังคับใช้ในชนกลุ่มน้อย
  เขตการปกครองประเทศจีน: การปกครองส่วนกลางแบ่งออกเป็น 23 มณฑล (รวมถึงไต้หวัน) , 5 เขตปกครองตนเอง (มองโกเลีย หนิงเซี่ย ซินเจียง กวางสี และทิเบต) , 4 มหานครที่ขึ้นต่อส่วนกลาง (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และฉงชิ่ง และ 2 เขตบริหารพิเศษ (ฮ่องกง และมาเก๊า)
วัฒนธรรมจีน การเรียกชื่อสกุลของชาวจีนตรงกันข้ามกับภาษาไทย คือเรียกต้นด้วยชื่อสกุล ชื่อตัวใช้เรียกกันในหมู่ญาติ และเพื่อนสนิท โดยปกติชาวจีนมักไม่ทักทาย ด้วยการจับมือหรือจูบเพื่อร่ำลา


        


ข้อมูลประเทศจีน:http://www.gatewayindochina.com,http://th.wikipedia.org

 การตลาดระหว่างประเทศ  International Marketing
การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)
ได้มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศในหลายๆ คำจำกัดความดังต่อไปนี้
สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association : AMA)
ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของการตลาดระหว่างประเทศว่า การตลาดระหว่างประเทศคือ ความสามารถในการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด
การตลาดระหว่าประเทศ คือ
ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด เช่น
Ø ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลุกค้าในตลาดระหว่างประเทศ แต่ละแห่ง
Ø ความแตกต่างทางด้านกฎหมายและข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
Ø ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และ อัตราค่าภาษีกรมศุลกากร ของตลาดระหว่างประเทศ
Ø ความแตกต่างทางด้านกายภาค และ สภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
Ø การกีดกันทางการค้า ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
การค้าระหว่างประเทศ   International Trdde
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศในเรื่องการค้า เศรษฐกิจและการ ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจจะมีผลต่อรายได้ประชาชาติโดยตรง หน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ต่างมีส่วนกำหนดให้ระบบเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาโดยการพึ่งพาต่างประเทศกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ การค้าระหว่างประเทศ การชำระเงินระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
  การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง
สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
       การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าได้ด้วยต้นทุนไม่เท่ากัน ประเทศที่สามารถผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งด้วยต้นทุนที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ประเทศนั้นจะเป็นผู้ผลิตและส่งสินค้าไปขายที่อื่น ๆ เหตุที่ประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่างกันเพราะว่า มีความแตกต่างในปริมาณและทรัพยากร กล่าวคือ บางประเทศมีแร่ธาตุมาก บางประเทศเป็นแหล่งน้ำมัน บางประเทศมีป่าไม้มาก เป็นต้น ประกอบกับความแตกต่างของสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ส่งผลให้สินค้าบางชนิดสามารถผลิตได้ในบางพื้นที่เท่านั้น เช่น ยางพาราส่วนมากผลิตในประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก กาแฟส่วนมากมาจากบราซิล เป็นต้น ประเทศที่มีทรัพยากรการผลิตชนิดใดมาก จะได้เปรียบในการผลิตสินค้าซึ่งต้องใช้ทรัพยากรชนิดนั้นเป็นปัจจัยการผลิต เพราะราคาของปัจจัยการผลิตชนิดนั้นจะต่ำ เนื่องจากมีมากเมื่อเทียบกับความต้องการซึ่งมีผลให้ต้นทุนการผลิตตลอดจนราคาขายต่ำไปด้วย ประเทศจึงควรผลิตสินค้าดังกล่าวเพื่อส่งออกและนำเข้าสินค้าที่ขาดแคลน หรือสินค้าที่มีราคาสูงโดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ  
แหล่งที่มา
www.management.cmru.ac.th/home3/.../gen9.ppt